วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วิเคราะห์วิจารณ์
แนวคิด
เรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม
ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย
การใช้อาวุธ
และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีหลายข้อแย้ง
แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง และสมเหตุสมผล
เช่น
ปมแรก คือ ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
ปมที่สอง คือ ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา ยกบุษบาให้จรกา ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย
ปมที่สาม
ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ
แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว
จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น
ปมที่สี่
อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา
จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา
จินตะ อ่านเพิ่มเติม
ความรู้เพิ่มเติม
กลอนบทละคร คือคำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงละครรำ เช่น พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์, พระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องอิเหนา เป็นต้น
กลอนบทละครมีลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกลอนสุภาพ วรรคหนึ่งมี 6 ถึง 9 คำ แต่นิยมใช้เพียง 6 ถึง 7 คำจึงจะเข้าจังหวะร้องและรำทำให้ไพเราะยิ่งขึ้น กลอนบทละครมักจะขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์สูง บัดนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นเสนาหรือคนทั่วไป มาจะกล่าวบทไป ใช้สำหรับนำเรื่อง เกริ่นเรื่อง อ่านเพิ่มเติม
คำศัพธ์ที่น่าสนใจ
กั้นหยั่น อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว มีด 2 คม
กิดาหยัน ผู้มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน
เจียระบาด ผ้าคาดเอวชนิดหนึ่ง มีชายห้อยที่หน้าขา
ชักปีกกา รูปกองทัพที่ตั้งมีกองขวา กองซ้ายคล้ายปีก
ชิงคลอง แย่งทางที่ตนจะได้เปรียบ
ตะหมัง เสนาผู้ใหญ่
แน่นนันต์ มากมาย
ประเสบัน ที่พักของเจ้านาย
โพยมบน ท้องฟ้าเบื้องบน
ข้อคิดที่ได้รับ
ข้อคิดที่ได้รับ
๑.ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู
๒.ความรักในศักดิ์ศรี การมีขัตติยมานะหรือความสำนึกในเกียรติแห่งวงศ์ของตนเอง
๓.รักษาคำสัตย์ การรู้จักรักษาคำพูดเมื่อพูดอย่างไรก็ต้องทำตาม
๔.การรู้จักให้อภัย การไม่ถือโทษโกรธแค้นกันและกัน
๕.ความรักและความหลงใหลควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักและความหลงเนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องย่อ
ด้านกษัติร์ย์อีกวงศ์หนึ่งคือ ท้าวกะหมังกุหนิง มีพระโอรสคือ วิหยาสะกำ ครองเมืองปาหยัง และโอรสอีกพระองค์ครองเมืองปะหมันสลัด วันหนึ่งวิหยาสะกำได้เสด็จประพาสป่า ได้เจอรูปนางบุษบาที่หายไป จึงคลั่งไคล้นางบุษบาเป็นอย่างมาก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสืบเรื่องและให้ทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิง จึงตั้งใจจะยกทัพมาแย่งชิงนางบุษบาไป โดยให้ระตูปาหยังและระตูปะหมัน พระอนุชายกทัพมาช่วย โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า และพระอนุชาทั้งสองคนเป็นทัพหลัง
ด้านท้าวดาหา เมื่อทราบความว่าท้าวกะหมังกุหนิงเตรียมยกทัพมาตี จึงได้ขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันจึงได้ส่งพระราชสาสน์มาฉบับหนึ่ง เพื่อให้อิเหนายกทัพมาช่วย อีกฉบับส่งให้ระตูหมันหยา พร้อมตำหนิที่นางจินตะหราวาตี ลูกสาวของระตูหมันหยา เป็นต้นเหตุของการเกิดศึกนี้ ระตูหมันห อ่านเพิ่มเติม
ด้านกษัติร์ย์อีกวงศ์หนึ่งคือ ท้าวกะหมังกุหนิง มีพระโอรสคือ วิหยาสะกำ ครองเมืองปาหยัง และโอรสอีกพระองค์ครองเมืองปะหมันสลัด วันหนึ่งวิหยาสะกำได้เสด็จประพาสป่า ได้เจอรูปนางบุษบาที่หายไป จึงคลั่งไคล้นางบุษบาเป็นอย่างมาก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสืบเรื่องและให้ทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิง จึงตั้งใจจะยกทัพมาแย่งชิงนางบุษบาไป โดยให้ระตูปาหยังและระตูปะหมัน พระอนุชายกทัพมาช่วย โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า และพระอนุชาทั้งสองคนเป็นทัพหลัง
ด้านท้าวดาหา เมื่อทราบความว่าท้าวกะหมังกุหนิงเตรียมยกทัพมาตี จึงได้ขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันจึงได้ส่งพระราชสาสน์มาฉบับหนึ่ง เพื่อให้อิเหนายกทัพมาช่วย อีกฉบับส่งให้ระตูหมันหยา พร้อมตำหนิที่นางจินตะหราวาตี ลูกสาวของระตูหมันหยา เป็นต้นเหตุของการเกิดศึกนี้ ระตูหมันห อ่านเพิ่มเติม
ประวัติผู้เเต่ง
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษ อ่านเพิ่มเติม
จุดมุ่งหมายในการเเต่ง
จุดมุ่งหมาย
แต่งขึ้นเพื่อแสดงการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง และทรงสร้างเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากกษัตริย์พระองค์นี้มีพระนามว่า ไอรลังคะ
แต่งขึ้นเพื่อแสดงการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง และทรงสร้างเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากกษัตริย์พระองค์นี้มีพระนามว่า ไอรลังคะ
ลักษณะการเเต่ง
ลักษณะการเเต่ง
บทละครรำเรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งเป็นกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักขึ้นต้นด้วยคำว่า ”เมื่อนั้น”ใช้กับตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครที่เป็นกษัตริย์ คำว่า ”บัดนั้น” ใช้กับตัวละครสามัญ และคำว่า ”มาจะกล่าวบทไป” ใช้เมื่อขึ้นตอนหรือเนื้อความใหม่ สำหรับจำนวนคำในแต่ละวรรค อาจจะมีไม่เท่ากัน เพราะจะต้องให้เหมาะสมกับท่ารำทำนองเพลง นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนดเพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบกิริยาอาการตัวละครเช่น เชิด เป็นต้น ร่าย เป็นต้น พร้อมทั้งบอกจำนวนคำในบทนั้นด้วย คือ 2 วรรค เป็นหนึ่งคำกลอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)